ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนตระพังพิทยาคม
|
 |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป้าประสงค์
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนตระพังพิทยาคม
จุดเน้น
นักเรียนโรงเรียนตระพังพิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-Net) กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
มาตรการ
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และตามกรอบหลักสูตรท้องถิ่น โดยสอดคล้องกับพันธกิจ เป้าหมาย และนโยบายการศึกษาด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล
2. มีการกำหนดโครงสร้างรายวิชาที่ครอบคลุมด้านเนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัด ระยะเวลาที่เรียน การกำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลที่ชัดเจนโดยสอดคล้องกับ สาระ มาตรฐาน และตัวชี้วัด ในแต่ละรายวิชา ตามหลักสูตรแกนกลางฯ
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ สาระมาตรฐาน และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางฯ 4. พัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา หน่วยการเรียนรู้ แผนจัดการเรียนรู้ และมีความเหมาะสมกับผู้เรียน
5. มีการทดสอบ วัดผลและประเมินผลผู้เรียนในแต่ละรายวิชาตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระมาตรฐาน ตัวชี้วัดที่กำหนด โดยใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่เหมาะสมกับเนื้อหารายวิชาและความแตกต่างของผู้เรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาห้องเรียนและห้องปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
เป้าประสงค์
โรงเรียนตระพังพิทยาคม มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ที่ทันสมัย สะดวก สะอาดและปลอดภัย มีภูมิทัศน์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
จุดเน้น
โรงเรียนตระพังพิทยาคม มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ทันสมัยและมีอุปกรณ์การเรียนการสอน มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้
มาตรการ
1. ปรับปรุงพัฒนาให้ห้องปฏิบัติการมีความทันสมัย มีครุภัณฑ์และ อุปกรณ์พื้นฐานที่ครบถ้วน และ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
2. ปรับปรุงภูมิทัศน์ สถานที่ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนการสอน การเรียนและการทำงาน
3. ปรับปรุงโรงอาหาร ห้องพยาบาล ห้องน้ำ และ สถานที่เล่นกีฬา และออกกำลังกายที่เพียงพอ
4. พัฒนาห้องสมุดให้ทันสมัย มีหนังสือและสื่อการ เรียนรู้ที่หลากหลาย และเพียงพอ
5. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ สูง ทันสมัย และเพียงพอต่อการใช้งาน และมีการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร
เป้าประสงค์
ครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนตระพังพิทยาคม ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาสู่ความเป็นครูมืออาชีพ และได้รับการส่งเสริมให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้น
จุดเน้น
ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น
มาตรการ
1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้ รับการพัฒนาทางวิชาการและเลื่อนวิทยฐานะเพิ่มขึ้น
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้รับการส่งเสริมการศึกษาต่อในสาขาวิชาที่สอนหรือตรงตามสายงานที่รับผิดชอบ ในระดับที่สูงขึ้น
3. ส่งเสริมให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้เข้าร่วมอบรม สัมมนา พัฒนาตนเองทางวิชาการ ตามสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาวินัย คุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทย จิตสาธารณะและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยศาสตร์พระราชา
เป้าประสงค์
เพื่อให้โรงเรียนตระพังพิทยาคม มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย มีจิตสาธารณะและมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยศาสตร์พระราชา
จุดเน้น
นักเรียนโรงเรียนตระพังพิทยาคม มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นไทย มีจิตสาธารณะและมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยศาสตร์พระราชา
มาตรการ
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย เป็นคนดี แต่งกายดี วจีงาม ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยศาสตร์พระราชา
4. ส่งเสริมให้ผู้เรียน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความมีจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการแข่งขันทักษะทางวิชาการของนักเรียน
เป้าประสงค์
นักเรียนโรงเรียนตระพังพิทยาคม ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในงานมหกรรมวิชาการระดับเขตพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับชาติตลอดจนหน่วยงานทางการศึกษาอื่นที่จัดขึ้น
จุดเน้น
นักเรียนโรงเรียนตระพังพิทยาคม ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในงานมหกรรมวิชาการระดับเขตพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ ตลอดจนหน่วยงานทางการศึกษาอื่นที่จัดขึ้น
มาตรการ
1. คัดเลือกนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาการในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. ฝึกซ้อม นักเรียนอย่างเข้มข้นในแต่ละทักษะและกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในแต่ละกลุ่มสาระเรียนรู้ ตามสถานศึกษา หน่วยงานที่จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ
4. สนับสนุนงบประมาณในการฝึกซ้อม ส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่นักเรียนและครูที่ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
๑.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1.๑.๑ ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละดับชั้น
1.๑.๒ ความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
1.๑.๓ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.๑.๔ ความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
1.๑.๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ
1.๑.๖ ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงานหรือการทำงาน
1.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
1.๒.๑ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคมคือ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และค่านิยม 12 ประการตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
1.๒.๒ ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
1.๒.๓ การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
1.๒.๔ สุขภาวะทางร่างกายและลักษณะจิตสังคม
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
2.๑ การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
2.๒ การวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.๒.๑ การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียน รอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
2.๒.๒ การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
2.๒.๓ การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
2.๒.๔ การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2.2.5 การวางแผนการบริหารและการจัดการด้านงบประมาณอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2.2.6 การวางแผนการบริหารและการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
2.๓ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการร่วมรับผิดรับชอบต่อผลการจัดการศึกษา ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
2.๔ การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
3.2 การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๓.2.๑ การมีกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
๓.2.๒ การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น
๓.2.๓ การตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
๓.3 การพัฒนาระบบการวัดและการประเมินผลการเรียน
๓.4 การผลิต การใช้ การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
๓.5 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓.6 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
4.๑ สถานศึกษาจัดวางระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพ
ผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
4.๒ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพ
ภายในของสถานศึกษา
4.3 พ่อแม่ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
มีความมั่นใจต่อระบบการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา
4.4 การใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นระบบประกันคุณภาพที่นำมาใช้ คือ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
|